วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กล้ายางพารา



เกษตรกรในอนาคต เด็กชายพีรพัฒน์  ไชยศรีหา (ลูกชายเจ้าของสวน) ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้น ป. 4 โรงเรียนบ้านซำจานเนินทอง ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ตัวอย่างกล้ายางพาราพร้อมนำไปปลูกที่แปลงของเกษตรกร พันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 กรมวิชาการเกษตรส่งเสริมให้ปลูก โตเร็วได้น้ำยางมากทนทานต่อโรค เหมาะปลูกในภาคอีสาน และ ภาคเหนือ

มียางตาเขียวพร้อมส่งราคาถูกจำนวนมาก ส่งตรงจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีทางขนส่งและทางเครื่องบิน
โทรสั่งจองด่วนได้แล้วที่ คุณณรินทร์ทิพย์ 08 - 0615 0778

15 ความคิดเห็น:

  1. สกย. เร่งผลิตยางป้อนตลาดโลก คาดอีก 10 ปี ความต้องการสูงถึง 13.8 ล้านตัน

    กล้ายางพาราเชียงราย

    ผู้อำนวยการ สกย. หนุนเกษตรกร 1.2 ล้านครัวเรือนทำสวนยาง แย้มโครงการเพาะปลูกใหม่ เฟส 3 จัดสรรที่ดิน 8 แสนไร่ เพื่อสนับสนุนให้เป็นอาชีพที่มั่นคง เปิดลงทะเบียน15 ก.พ.-15 มี.ค.นี้ หลังคาดการณ์แนวโน้มปี 63 ความต้องการตลาดโลกมีสูงถึง 13.8 ล้านตัน ขณะที่อุปทานขาดอยู่ถึง 10%

    นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวว่า ปัจจุบันยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการทำสวนยาง 1.2 ล้านครัวเรือน กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2563 ความต้องการใช้ยางธรรมชาติของโลกจะมีสูงถึง 13.8 ล้านตัน และการผลิตของโลกจะสามารถผลิตได้ 12.4 ล้านตัน

    ล่าสุด ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยาง 17.41 ล้านไร่ ผลผลิตยางพารา 3 ล้านตันต่อปี มีทั้งส่งออกไปต่างประเทศในรูปวัตถุดิบ และใช้เพื่อการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศ ดังนั้น ยางพาราจึงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่มีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศสูงถึง 402,582 ล้านบาท

    ผู้อำนวยการ สกย. กล่าวเพิ่มเติมว่า สกย. มีสวนสงเคราะห์อยู่ในความดูแลจำนวนกว่า 3 ล้านไร่ ในโครงการสงเคราะห์ปลูกแทน และโครงการยกระดับรายได้และความมั่นคงให้กับเกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ รวมทั้งการดำเนินงานอย่างครบวงจร คือ การจัดตลาดประมูลยางพารา เพื่อให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรอง ได้ราคายุติธรรม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

    ส่วน โครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ระยะที่ 3 สกย. ให้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรและผู้สนใจประกอบอาชีพการทำสวนยาง ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสวนยางมาก่อน จะได้รับการสนับสนุนการปลูกสร้างสวนยางแบบให้เปล่า ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เป็นของตนเอง ตั้งแต่ 2 - 15 ไร่ มีเป้าหมายพื้นที่ทั่วประเทศ 8 แสนไร่ เพื่อสร้างงานและอาชีพให้แก่เกษตรกรอย่างครบวงจร

    ผู้ อำนวยการ สกย. ยังกล่าวเสริมถึงโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่ใหม่ ระยะที่ 3 โดยระบุว่า ขณะนี้เกษตรกรจำนวนมากได้ให้ความสนใจ ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้เกษตรกรได้ลงทะเบียนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2554 นี้

    สำหรับรายละเอียดของโครงการฯ เป็นแผนระยะที่ 3 กำหนดพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศรวม 8 แสนไร่ ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง 2-15 ไร่ และไม่เคยมีสวนยางมาก่อน โดย สกย.จะสนับสนุนกล้ายาง ปุ๋ย เมล็ดพืชคลุมดินช่วง 3 ปีแรก คิดเป็นเงินไร่ละ 3,529 บาท

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เกษตรฯดันเอกชนไทยส่งออกยางพารา 1.32 แสนล้าน
      เกษตรฯจับคู่เอกชนไทยลงนามส่งออกยางพาราไทยไปต่างชาติมูลค่า 1.32 แสนล้านบาท ด้านนายกสมาคมยางฯชี้ปริมาณยางยังไม่เพียงพอกับตลาดโลก แต่ราคากลับสูงมาก
      นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงในการจับคู่ธุรกิจของบริษัท ไทยและต่างชาติ จำนวน 9 คู่ เพื่อร่วมมือในการซื้อขายยางพาราจากประเทศไทย โดยคาดว่ามูลค่าการค้าจากการลงนามครั้งนี้จะสูงถึง 1.32 แสนล้านบาท
      นายศุภชัยกล่าวว่า รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนการผลิตเพื่อไม่ให้กระทบกับปริมาณที่จะออกมาใน อนาคตและนำไปสู่ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ
      ด้าน นายหลักชัย กิตติพล นายกสมาผู้ส่งออกยางพาราไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีความต้องการยางอยู่ที่ปีละ 10 ล้านตัน ซึ่งไทยผลิตได้ 3 ล้านตัน อินโดนีเซีย 2 .7 ล้านตัน มาเลเซีย 1.3 ล้านตัน ทำให้ภาพรวมปริมาณยางพารายังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดโลก แต่ขณะนี้ราคายางพารากลับสูงถึง 130 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูง ก่อให้เกิดความกังวลว่า หากสาถานการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ผลิตที่ต้องใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบอาจเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบอื่นแทนได้

      ลบ
    2. ประวัติยางพารา
      ทุกครั้งที่มีโอกาสเดินทางไปดูงานในต่างประเทศเช่น เมื่อไปดูงานประเทศชวากลับมา ก็ได้แนวความคิดที่จะใช้ประสานประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนโดยตรงทั้งในด้าน การเกษตรกรผู้ผลิต และด้านความสะดวกในการซื้อหาของผู้บริโภค สิ่งนั้นคือ "ตลาดนัด" โดยประกาศให้ราษฎรพ่อค้าแม่ค้าต่างตำบล นำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่ายและแลกเปลี่ยนกันที่ตลาดนัดซึ่งได้หมุนเวียนสับเปลี่ยนทั่วทุกตำบลเป็นผลให้ผู้คนต่างท้องถิ่น ได้ไปมาหาสู่ต่อกันมากขึ้น
      พระยารัษฎาประดิษฐ์ มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตมีชื่อเดิมว่า คอซิมบี้ ณ ระนอง เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ต้นสกุล ณระนอง ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง คนแรกมารดาชื่อ กิ้ม เกิดที่จังหวัดระนอง เมื่อ พ.ศ. 2400 เมื่ออายุได้ 12 ขวบ คือ พ.ศ. 2412 ได้ติดตาม บิดาไปประเทศจีน ในโอกาสที่บิดาไปพักผ่อนและทำบุญให้กับบรรพบุรุษ ณ มาตุภูมิ จึงมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ณ จังหวัดเจียงจิวบ้าง แล้วกลับมาอยู่จังหวัดระนองช่วยบิดาทำงานตามเดิม
      พ.ศ.2425
      หลังจากบิดาถึงอนิจกรรม พระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ผู้เป็นพี่ชาย ได้นำถวายตัวเป็น มหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร เป็นที่พระอัสดงคตทิศรักษา ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี
      พ.ศ. 2433
      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ถึงเมืองระนอง กระบุรี ทรงเห็นว่าพระอัสดงคตทิศรักษา (คอซิมบี้ ณ ระนอง) มีความสามารถจัดการปกครอง เป็นที่พอพระหฤทัย
      จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไป ดำรงตำแห่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
      ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ควนธานีแทนพระยาตรังภูมิภิบาล (เอี่ยม ณ นคร) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯไปเป็น
      เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับเลื่อนยศจากพระอัสดงคตทิศรักษา เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

      ในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต มีขอบข่ายการปกครอง 7 จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตะกั่วป่า จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง แทน คือ พระสถล สถานพิทักษ์ (ยู่เกี๊ยด ณ ระนอง) บุตรบุญธรรมของพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยนั่นเอง
      พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ถึงแก่อนิจกรรม ที่บ้านจักรพงษ์ ปีนัง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2456 มีอายุได้ 56 ปีหลังจากถูกหมอจันทร์ บริบาล แพทย์ประจำจังหวัดลอบยิงด้วยปืนพก (เบรานิง) ที่สะพานเจ้าฟ้า ท่าเรือกันตัง ได้ 45 วัน

      กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย
      ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงานในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมา หุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือ ส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที

      ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสนครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญรองลงมาจากข้าว ทำรายได้ให้กับประเทศปีละนับหมื่นล้านบาท พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นนบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุฉะนี้

      จากการที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของ ชาวบ้าน กล้าลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมากมาย ทั้งยังใช้นโยบายให้คนต่างชาติมมาลงทุน และมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยน โดยไม่ให้ ส่วนรวมเสียเปรียบซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี้ เป็นพื้นฐานอันส่งผลประโยชนน์ มหาศาล มากกระทั่งทุกวันนี้
      อนุสาวรีย์หล่อใหญ่กว่าตัวจริงของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สร้างขึ้น ที่ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรังและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2494 หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรม 39 ปี นอกจากอนุสาวรีย์นี้แล้ว ถนนสายต่าง ๆ ทั้งในภูเก็ต ตรัง กันตัง ก็ตั้งชื่อตามพระยารัษฎา เช่น ถนนรัษฎา ถนนรัษฎานุสรณ์ เป็นต้นเพื่อเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเกียรติคุณของท่าน ให้เยาวชนรุ่นหลัง ระลึกถึงตลอดไป

      ลบ
  2. ปี 53 ยางพาราปาล์มน้ำมันราคาดี
    รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 น้ำยางสด และปาล์มน้ำมัน จากการจัดเก็บข้อมูลจากตลาดรับซื้อที่สำคัญทั้งภาครัฐ สถาบัน เกษตรกร และ ผู้ประกอบการเกษตร เป็นรายวันรวมระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2552 ถึงปี 2553 พบว่า ทั้งยางพารา และปาล์มน้ำมัน ราคาพุ่งทะยานจากปี 2552 ถึงปี 2553 อย่างต่อเนื่อง
    จนกระทั่งยางแผ่นดิบชั้น 3 และน้ำยางสดมีราคาพุ่งสูงขึ้น ราคาเกิน 100 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ปาล์มน้ำมันทะลายน้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม ก็มีราคาสูงขึ้นเกิน 5.00 บาทต่อกิโลกรัมเช่นเดียวกัน

    สำหรับ ยางแผ่นดิบชั้น 3 ในปี 2552 เดือนมกราคม ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 46.93 บาท เดือนสิงหาคม ราคาเฉลี่ยสูง ขึ้นอยู่ที่ 63.11 บาท และเดือนธันวาคมพุ่งทะยานสูงขึ้นต่อไปอีกเฉลี่ยอยู่ที่ 83.32 บาท โดยเมื่อย่างเข้าสู่ต้นปี 2553 ใน เดือนมกราคม ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ก็ ยังพุ่งสูงขึ้นต่อไปอีกเฉลี่ยอยู่ที่ 92.55 บาท จนราคาพุ่งสูงเกิน 100 บาท นับ เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคมที่มีราคาเฉลี่ย 100.93 บาท และพุ่งขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 113.44 บาท ต่อจากนั้นในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนราคามี การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ที่ 106.91 บาท และ 109.17 บาท ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้มี่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 102.11 บาท ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา

    ส่วนน้ำยางสดก็เช่นเดียวกันในปี 2552 พบว่า ในเดือนมกราคมมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 49.36 บาท เดือนสิงหาคม เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 59.90 บาท และเดือนธันวาคมพุ่งทะยานสูงขึ้นอยู่ที่ 78.16 บาท และเมื่อย่างเข้าสู่ปี 2553 เดือนมกราคมราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 90.08 บาท และราคาทะยานเกิน 100 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 101.06 บาท เดือนเมษายนเฉลี่ยอยู่ที่ 101.68 บาท และพฤษภาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 102.67 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาได้ทะยานพุ่งสูงสุดในเดือนมิถุนายนเฉลี่ยอยู่ที่ 104.41 บาท และเมื่อถึงเดือนกันยายน ราคาเฉลี่ยคง อยู่ที่ 101.50 บาท โดยมีต้นทุนการ ผลิตของยางแผ่นดิบแห้งเพียง 42.83 บาทเท่านั้น

    ทาง ด้านปาล์มน้ำมันทะลายน้ำ หนักเกิน 15 กิโลกรัม ในปี 2552 พบว่า เดือนมกราคมมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 3.53 บาท เดือนมิถุนายนราคาปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.28 บาท และเดือนธันวาคมราคาปรับตัวสูงขึ้นไปอีกเฉลี่ยอยู่ที่ 4.48 บาท เมื่อย่างเข้าสู่ปี 2553 ในเดือนมกราคมราคาเฉลี่ยปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 3.92 บาท จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ได้ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.22 บาท และเมื่อเข้าสู่ปลายปีในเดือนกันยายนราคาเฉลี่ยก็พุ่งทะยานสูงสุดอยู่ที่ 5.04 บาท

    ตอบลบ
  3. NEW YORK, May 21 (Xinhua) -- U.S. stocks rebounded on Monday after major indexes suffered their worst weekly losses of the year in the previous week. The Dow Jones industrial average gained 135.10 points, or 1.09 percent, to settle at 12,504.48, which was the first time for the blue-chip index to gain tree digits since April 26.
    The Standard & Poor's 500 was up 20.77 points, or 1.60 percent, to 1,315.99, the second best performance for the year.The Nasdaq Composite Index surged 68.42 points, or 2.46 percent, to 2,847.21. Monday's technical bounce rally came after major indexes fell every day last week, posting their worst week since the beginning of the year. Investors felt wary after leaders of eight industrial countries concluded their meeting during the weekend and only gave verbal backing for Greece to stay in the euro.
    However, there were rumors saying that European policy makers will boost a pan-European bank deposit program, which was considered as a positive move to protect depositors' interests. Adding to the gains, China's Premier Wen Jiabao promised to boost the country's consumption rather than focusing primarily on curbing inflation during the weekend, which gave some big name company like Caterpillar a boost as they rely very much on China demand. Social media company Facebook, however, plunged about 11 percent on Monday, sharply below its initial public offering price of 38 dollars on, suggesting a strong sell-off after its debut last Friday.

    ตอบลบ
  4. Thailand sees growth rebound after devastating floods:
    Santitarn Sathirathai, an economist with Credit Suisse, told the BBC's Asia Business Report good growth was expected.Thailand's economy has rebounded sharply as factories boosted production recovering quickly from last year's floods. Gross domestic product grew 11% in the first three months of the year, compared to the previous three months, data showed. On an annual basis the economy grew 0.3%, after shrinking 8.9% in previous quarter. Authorities and analysts said the rebound was stronger than expected. Thailand was hit by some of the worst flooding in decades late last year. Companies like the Japanese car maker Honda, Western Digital and others were forced to temporarily suspend production. Exports also suffered because flooding damaged products. However, analysts said government policies were boosting domestic demand. "Today's data underscored expectations that the economy's recovery from last year's floods is on track," said Radhika Rao from Forecast in Singapore.
    "Acceleration in investment spending due to reconstruction efforts and a sharp jump in inventories have lifted headline growth." The National Economic and Social Development Board (NESDB) said it now expects growth between 5.5% and 6.5% this year, which is unchanged from its forecast in February.

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อยากแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง ( โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น )
      ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมดังนี้
      1. พื้นที่ปลูกยาง
      - ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบขั้นบันได
      2. ดิน
      - ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ไม่เป็นดินเค็มและมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5
      3. น้ำฝน
      - มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,350 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วันต่อปี
      4. ความชื้นสัมพันธ์
      - เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์
      5. อุณหภูมิ
      - เฉลี่ยตลอดปีไม่แตกต่างกันมากนัก ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส
      6. ความเร็วลม
      - เฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที
      *หากสภาพพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่นมีความใกล้เคียงกับข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ก็คาดว่าจะสามารถปลูกยางพาราได้ผลผลิตดีเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ นะครับ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางพาราของจังหวัดนั้นๆได้ครับ
      ยางพาสามารถปลูได้ทุกสภาพดินครับ....แต่ว่าควรที่จะขอคำแนะนำจาก ...สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)ขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ บ้านบึงฉิม ถ.สายขอนแก่น - กาฬสิน ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นเพียง 3 กมเท่านั้นมีเกษตรกรหลายรายที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ดินเค็มและมักพบปัญหาว่าความเค็มทำให้ต้นยางตายนึ่ง หรือต้นยาง ไม่สมบูรณ์ เป็นโรคใบเxxx่ยวดังนั้นควรปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสม เช่น ยกร่องดินเพื่อหนีความเค็ม จัดระบบระบายน้ำให้ดี หรือใช้ แกลบ ใส่รอบโคนต้นเป็นปริมาณมาก และหมั่นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ แต่ต้อง คำนวณด้วยว่าคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ ถ้าสนใจจะปลูกยางพาราจริงๆ ลอง ปรึกษาหมอดิน หรือเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเค็มเสียก่อน ส่วนการปลูกยางพาราให้ติดต่อกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในพื้นที่ใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าน่าจะปลูกพืชทนเค็มอื่นๆ จะลดความเสี่ยงมากกว่า เช่น กล้วย ส้มโอ มะขาม มะเฟือง ขนุน เป็นต้น
      ติดต่อ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)จังหวัดขอนแก่นโทร.043-228353,043-228376 ทางไปจีงหวัดกาฬสินธุ์

      ลบ
  5. ชาวขอนแก่นแห่รับสิทธิปลูกยางเฟส 3 เชื่อพื้นที่จัดสรร 1.05 หมื่นไร่ ไม่พอแน่

    ชาวขอนแก่นแห่ลงทะเบียนรับสิทธิ รับการส่งเสริมปลูกยางพารา 8 แสนไร่ เฟส 3 ผอ.สกย.ขอนแก่น คาดพื้นที่จัดสรร 10,500 ไร่ ไม่พอแน่ เหตุเกษตรกรต้องการปลูกรับอานิสงส์ราคายางพุ่งเป็นประวัติการณ์ ขณะที่สกย.ขอนแก่นจัดทีมลงพื้นที่รับลงทะเบียนถึงที่ว่าการอำเภอทั้ง 26 แห่ง อำนวยความสะดวกไม่ให้แออัด

    นายเนาวรัตน์ ปานสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดขอนแก่น (สกย.ขอนแก่น) เปิดเผยว่า โครงการปลูกยางพารา 8 แสนไร่ เฟส 3 ในพื้นที่แห่งใหม่ ที่จังหวัดขอนแก่น ได้เปิดให้เกษตรกรชาวจังหวัดขอนแก่น ลงทะเบียนระหว่างรับสิทธิวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 มีนาคม 2554 มีกระแสตอบรับที่ดีมาก เกษตรกรรายใหม่สนใจมาขอรับส่งเสริมปลูกยางพาราสูงมาก

    สกย.ขอนแก่น จะจัดทีมเจ้าหน้าที่ ทยอยเดินทางออกไปรับลงทะเบียนเกษตรกร ถึงที่ว่าการอำเภอ ทั้ง 26 อำเภอ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรไม่ต้องเดินทางไกล มาที่ สกย.ขอนแก่นเพียงจุดเดียว โดยวันแรกเปิดรับลงทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบ้านฝาง ณ สำนักงาน สกย.ขอนแก่น และไปสิ้นสุดในวันที่ 15 มีนาคม ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอชุมแพ รับลงทะเบียนกับเกษตรกรในเขตอำเภอชุมแพ และอำเภอหนองเรือ

    “เกษตรกรใน จ.ขอนแก่น มีความต้องการปลูกยางพาราสูงมาก เพราะราคาน้ำยางพาราปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา จากตลาดโลกต้องการยางพาราสูงมาก ล่าสุดราคาน้ำยางในประเทศสูงถึง 160 บาท/กก.จูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกยางพารามากขึ้น คาดว่าโควตาพื้นที่จัดสรรให้จังหวัดขอนแก่น 10,500 ไร่ ไม่น่าจะเพียงพอ” ผอ.สกย.ขอนแก่น กล่าวและว่า
    สกย.ขอนแก่น จะสรุปตัวเลขพื้นที่ขอรับส่งเสริมการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ และเร่งเข้าไปสำรวจพื้นที่ที่เกษตรกรขอรับการส่งเสริมให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายนนี้ ก่อนที่จะจัดสรรกล้ายางพารา และให้การส่งเสริมต่อไป หากมีเกษตรกรขอรับส่งเสริมมาก สกย.ขอนแก่นจะส่งเรื่องต่อให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาต่อไป
    ทั้งนี้ การจัดสรรพื้นที่ปลูกยางพาราในจังหวัดขอนแก่น แยกเป็นปี 2554 จำนวน 2,500 ไร่ ปี 2555 จำนวน 4,000 ไร่ และสุดท้ายปี 2556 จำนวน 4,000 ไร่ รวม 10,500 ไร่ โดยอำเภอมัญจาคีรี ได้รับการจัดสรรมากที่สุด 1,090 ไร่ รองลงคืออำเภอเมือง 1,040 ไร่ ต่ำที่สุดที่อำเภอชนบท 36 ไร่ โดยเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมระยะที่ 3 จะได้รับการสงเคราะห์พันธุ์ยางและปุ๋ยบำรุง เป็นระยะเวลา 3 ปี
    สำหรับยางพาราตามโครงการส่งเสริมระยะที่ 1 และ 2 ในจังหวัดขอนแก่น ปลูกแล้วทั้งสิ้น 33,337.70 ไร่ มีเกษตรกรทั้งหมด 3,519 ราย โดยยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้วจำนวน 891 ราย คิดเป็นพื้นที่ 7,911.75 ไร่ คิดเป็นผลผลิตน้ำยางเฉลี่ย 30-50 ตัน/เดือน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกยางอย่างเป็นรูปธรรม จูงใจให้เกษตรกรรายใหม่ต้องการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น
    ทั้งนี้ ภาพรวมในพื้นที่ โครงการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ.2554-2556 ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ ส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่เหมาะสมรวม 800,000 ไร่ แบ่งเป็นภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ 150,000 ไร่ ใช้งบประมาณทั้งหมดรวม 4,000 ล้านบาท
    พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ให้การส่งเสริมปลูกยางพันธุ์ดีรวม 500,000 ไร่นั้น จังหวัดหนองคาย ได้รับการจัดสรรมากที่สุดถึง 70,000 ไร่ รองลงมาคือ จังหวัดนครพนม 37,000 ไร่ จังหวัดอุดรธานี 35,400 ไร่ และจังหวัดสุรินทร์ 35,200 ไร่ ซึ่งจังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรส่งเสริมปลูกยางพันธุ์ดีน้อยที่สุดคือ 10,500 ไร่

    ตอบลบ
  6. ความเคลื่อนไหวในแวดวงยางพารา นายเนาวรัตน์ ปานสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดขอนแก่น (ผอ.สกย.จ.ขอนแก่น) ให้การต้อนรับ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทดลองกรีดยางด้วยตัวเอง ระหว่างตรวจเยี่ยมนิทรรศการ สกย.จ.ขอนแก่น จัดร่วมกับศูนย์เรียนรู้ยางพาราจังหวัดขอนแก่น (ศรย.ขอนแก่น.)ในงาน “สัมมนาครูบัญชี 20 จังหวัดภาคอีสาน” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น งานดังกล่าวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมอบรางวัลแก่ครูบัญชีดีเด่น
    วันนี้ ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ กล่าวถึงนโยบายการทำงานในตำแหน่งว่า ได้รับมอบหมายให้ดูแลหน่วยงาน 4 กรม และ 1 รัฐวิสาหกิจ ซึ่งขณะนี้ได้พบปะแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้บริหารระดับสูงในแต่ละหน่วยงาน เพื่อกำหนดแนวนโยบายการทำงาน ส่วนตัวมีแนวคิดว่า จะผลักดันพ.ร.บ.การยางฯ ออกมาเป็นกฎหมาย เพื่อนำ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้แก่ สถาบันวิจัยยาง องค์การสวนยาง และกองทุนสงเคราะห์สวนยาง มารวมเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้การทำงานเรื่องยางพารามีเอกภาพชัดเจนเป็นหนึ่งเดียว จะได้มีความคล่องตัวในการทำงาน ซึ่งต้องรอหารือกับรมว.เกษตรฯ และรัฐบาลว่าเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวหรือไม่ ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านโจมตีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายาง และการแก้ปัญหาราคายางระยะสั้นนั้น รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่ฝ่ายค้านต้องไม่เห็นด้วยในสิ่งที่รัฐบาลทำ มาตรการดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อเร่งผลักดันให้ราคายางขึ้นไปอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม โดยสัปดาห์หน้าจะประชุมหารือถึงหลักเกณฑ์ในมาตรการดังกล่าว

    ตอบลบ
  7. องค์กรยางระหว่างประเทศ
    1. ANRPC : Association of Natural Rubber Producing Countries : สมาคมประเทศผู้ผลิต
    ยางธรรมชาติ วัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ
    1) ประสานงานทางด้านนโยบายและการดำเนินงานผลิตยางและค้ายางของประเทศสมาชิก
    2) สนับสนุนส่งเสริมด้านวิชาการยางระหว่างประเทศสมาชิก
    3) ดำเนินการเพื่อสร้างและยกระดับราคายางธรรมชาติตามความเป็นธรรมและมีเสถียรภาพ
    ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่จีน กัมพูชา อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ปาปัว
    นิวกินี สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม มีสำนักงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
    2. IRRDB : International Rubber Research and Development Board : สภาวิจัยและพัฒนา
    ยางระหว่างประเทศ เป็นสภาที่ตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของสถาบันวิจัยยางของประเทศต่างๆ มีหน้าที่ควบคุม
    และวางนโยบายการวิจัยและพัฒนายางระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิก และสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ
    วัตถุประสงค์หลัก คือ
    1) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันสมาชิกในเรื่องงานวิจัยและพัฒนายางธรรมชาติ
    2) ประสานงานระหว่างสถาบันสมาชิกและจัดกิจกรรมการประชุมร่วมกันในเรื่องที
    น่าสนใจ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
    3) ควบคุมและประสานงานในทางวิชาการ ที่วางแผนโดยความร่วมมือของสถาบันสมาชิก
    ปัจจุบันมีสมาชิก 16 ประเทศได้แก่ กัมพูชา บราซิล แคเมอรูน จีน โคดดิวัวร์ ฝรั่งเศส (CIRAD)
    กาบอง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม เดิมมีสำนัก
    เลขาธิการอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และได้ย้ายมาตั้งที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อปี
    2544
    3. IRSG : International Rubber Study Group : องค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ
    เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2490 มีนโยบายประสานทางด้านการผลิต การค้าและการใช้ยางทั้งยางธรรมชาติและยาง
    สังเคราะห์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในฐานะประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ รวบรวม
    ข้อมูลสถิติการผลิต การใช้ยางและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประเมินการผลิตและการใช้ยางทั้ง 2 ชนิด
    ประกาศให้ทราบล่วงหน้า เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิต และการใช้ให้อยู่ใน
    ภาวะสมดุล ไม่แข่งขันกันจนต่างฝ่ายต่างเสียผลประโยชน์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 16 ประเทศ และ 1
    4. IRQPC : International Rubber Quality and Packing Conference : คณะกรรมการด้าน
    การหีบห่อและคุณภาพยางธรรมชาติระหว่างประเทศ มีหน้าที่กำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ กำหนดมาตรฐาน
    ยางแผ่นรมควันชั้นต่างๆ จัดพิมพ์เป็นคู่มือที่รู้จักกันในนามของ “GREEN BOOK” สมาคมยางพาราไทย
    เป็นสมาชิก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ร่วมดำเนินงานที่
    เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติควบคุมยาง เพื่อควบคุมด้านมาตรฐานและการหีบห่อ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุง
    กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
    5. IRA : International Rubber Association : สมาคมยางระหว่างประเทศ มีหน้าที่กำหนด
    กฎเกณฑ์ทางด้านการค้ายาง สัญญาซื้อขายยาง สมาคมยางพาราไทยเป็นสมาชิก กระทรวงเกษตรและ
    สหกรณ์ โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ร่วมดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติควบคุม
    ยาง เพื่อควบคุมด้านการค้าและส่งออกยาง เดิมมีสำนักงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
    ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่ที่สมาคมยางพาราไทย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    ตอบลบ
  8. 6. ISO : International Organization for Standardization : องค์การระหว่างประเทศว่า
    ด้วยการมาตรฐาน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีหน้าที่พิจารณากำหนด
    มาตรฐานสิ่งประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์ วิธีทดสอบคุณภาพทางเคมี ทางกายภาพ ชีวภาพ สุขอนามัยและ
    ความปลอดภัยในการใช้งานและการบริโภค ประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การนี้โดยมีสำนักงานมาตรฐาน
    ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนตามข้อบังคับขององค์การ โดย ISO ได้แบ่ง
    คณะกรรมการวิชาการเป็นหลายคณะตามผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ คณะกรรมการวิชาการด้านยางและผลิตภัณฑ์
    ยางเป็นคณะกรรมการคณะที่ 45 (ISO/TC 45) จะเป็นคณะกรรมการที่พิจารณามาตรฐานยางและผลิตภัณฑ์ยาง
    ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงมีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 253
    เพื่อพิจารณามาตรฐานที่เกี่ยวข้องที่จะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมภายในประเทศและการส่งออก
    ต่างประเทศ ก่อนการประชุมประจำปี โดยคณะกรรมการวิชาการที่แต่งตั้งนั้น มีผู้แทนของกรมวิชาการ
    เกษตรเป็นกรรมการ และเข้าร่วมการประชุมประจำปีของ ISO/TC 45 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
    7. ITRC : International Tripartite Rubber Council : สภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ
    จัดตั้งขึ้นภายใต้แถลงการณ์ร่วมเมืองบาหลี (Bali Declaration 2001) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ประกอบด้วย
    ผู้แทนจาก 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศละ 3 คน ทั้งภาครัฐและเอกชน รับผิดชอบ
    กำกับดูแลการดำเนินการตามมาตรการการจัดการด้านปริมาณการผลิต (Supply Management Scheme :
    8. IRCo : International Rubber Consortium Limited : บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ
    เนื่องจากภาวะราคายางพาราลดลงตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปี 2544 รัฐบาลของประเทศไทย อินโดนีเซีย และ
    มาเลเซีย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MoU)ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ (IRCo) ขึ้น
    มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลักดันราคายางพาราให้สูงขึ้นไปสู่ระดับที่เกษตรกรขายยางมีกำไรคุ้มกับการลงทุน และ
    รักษาระดับราคายางพาราให้มีเสถียรภาพ โดยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 มีทุนจด
    ทะเบียนเริ่มต้น12 ล้านเหรียญสหรัฐ จากทุนจดทะเบียนเป้าหมาย 225 ล้านเหรียญสหรัฐ มีกรรมการบริหาร 9
    คน จากไทย 4 คน อินโดนีเซีย 3 คน และมาเลเซีย 2 คน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
    9. ARBC : ASEAN Rubber Business Council : สภาธุรกิจยางอาเซียน เป็นสภาธุรกิจของ
    เอกชน/ผู้ส่งออก/ผู้ค้ายางในแถบประเทศเอเชีย ที่มีความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจยางพารา
    โดยเฉพาะพ่อค้าและผู้ส่งออก มีสมาชิกเป็นบริษัทต่างๆใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
    เวียดนาม และกัมพูชา สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

    ตอบลบ
  9. วันนี้ (26ม.ค.) ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ กล่าวถึงนโยบายการทำงานในตำแหน่งว่า ได้รับมอบหมายให้ดูแลหน่วยงาน 4 กรม และ 1 รัฐวิสาหกิจ ซึ่งขณะนี้ได้พบปะแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้บริหารระดับสูงในแต่ละหน่วยงาน เพื่อกำหนดแนวนโยบายการทำงาน ส่วนตัวมีแนวคิดว่า จะผลักดันพ.ร.บ.การยางฯ ออกมาเป็นกฎหมาย เพื่อนำ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้แก่ สถาบันวิจัยยาง องค์การสวนยาง และกองทุนสงเคราะห์สวนยาง มารวมเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้การทำงานเรื่องยางพารามีเอกภาพชัดเจนเป็นหนึ่งเดียว จะได้มีความคล่องตัวในการทำงาน ซึ่งต้องรอหารือกับรมว.เกษตรฯ และรัฐบาลว่าเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวหรือไม่

    ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านโจมตีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายาง และการแก้ปัญหาราคายางระยะสั้นนั้น รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่ฝ่ายค้านต้องไม่เห็นด้วยในสิ่งที่รัฐบาลทำ มาตรการดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อเร่งผลักดันให้ราคายางขึ้นไปอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม โดยสัปดาห์หน้าจะประชุมหารือถึงหลักเกณฑ์ในมาตรการดังกล่าว

    ตอบลบ
  10. ๒๐ ปี บนเส้นทางยางพาราสู่อีสาน
    ย้อนอดีตไปยาวไกล ...ผืนแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีธรรมชาติงดงาม ไม่แพ้ที่อื่นใดจวบจนมีการขยายพื้นที่
    ทำการเกษตรกรรมเพื่อการส่งออก ป่าธรรมชาติจึงหมดไปอย่างรวดเร็ว ผืนดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ในเวลาไม่นานนัก สภาพที่เสื่อมโทรมทำ
    ให้ผืนดินไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง และน้ำท่วมในฤดูฝน ด้วยขาดป่าไม้เป็นที่ดูด
    ซับน้ำในหน้าฝน และปลดปล่อยน้ำในหน้าแล้งในที่สุดอาชีพเกษตรกรรมจึงประสบความล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ ก่อเกิดความยากจน จนต้องอพยพไปขายแรงงานยังต่างถิ่น ดังที่ทุกคนทราบกันดีแม้รัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชทางเลือกชนิดใหม่ๆ รวมถึงการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ประสบผลสำเร็จได้
    กระทั่งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ มอบหมายให้
    สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.)ขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปยังพื้นที่ใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๔ จังหวัด ยกเว้น จังหวัดขอนแก่น และชัยภูมิ ตามศักยภาพพื้นที่จากผลการวิจัยของ
    สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตามแนวคิดที่ว่า“ ยางพาราเป็นไม้ยืนต้น อายุยืนยาวกิ่งก้านสาขาใหญ่โต เมื่อปลูกสร้างเป็นสวน จักมีสภาพคล้ายป่า เสมือนกับการปลูกป่า สามารถโอบอุ้ม ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ในภาค
    ตะวันออกเฉียงเหนือให้กลับคืนสู่สภาพชุ่มชื้น เป็นพื้นที่สีเขียว ได้เช่นที่เป็นมาในอดีตเกษตรกรมีอาชีพเกษตรกรรมที่มั่นคงสามารถมีชีวิตอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุขในท้องถิ่นบ้านเกิดของตนเอง ไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่ อีกเสริมให้มีสภาพการจ้างงานต่อเนื่องตามมาอีกมากมาย ”การปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเริ่มเป็นรูปธรรมแต่บัดนั้นเป็นต้นมาแนวคิดแรกเริ่มปลูกยางพารา
    ก่อนหน้านี้ มีผู้พยายามนำยางพาราไปปลูกในพื้นที่ภาค
    ตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัดมานานพอสมควร ดังเช่นที่ตำบลถ้ำเจริญ
    อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย มีสวนยางพาราปลูกด้วยเมล็ดที่พระธุดงค์รูปหนึ่งนำมาจากภาคใต้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๓
    ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ นาย ทวีป ทวีพาณิชย์ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วย
    ผู้อำนวยการกองนิคมสร้างตนเอง ฝ่ายพัฒนานิคม มีแนวคิดพัฒนาให้สมาชิก
    นิคมฯในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรายได้แน่นอน และคุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้วยการปลูกยางพาราเป็นพืชทางเลือกใหม่ ในโครงการส่งเสริมการปลูกป่า แต่ไม่ผ่านการสนับสนุนงบประมาณ เพราะไม่มีหน่วยงานใด เชื่อมั่นว่า
    ยางพาราจะให้ผลผลิตได้ในภูมิภาคนี้ด้วยความเชื่อมั่น นาย ทวีป จึงเชิญนาย
    ศรีโบ ชัยประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางหาดใหญ่ และ นาย ลิม โปโล ผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราขององค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ เดินทางไปดูความเป็นไปได้ตามนิคมฯต่างๆ กับทดลองกรีดยาง จากต้นยางพาราอายุ ๑๐ ปี
    จำนวน ๔ – ๕ ต้น ที่ปลูกไว้ในวิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์ และยังไม่ผ่านการกรีดเลย ซึ่งผลปรากฏว่าน้ำยางไหลออกมากพอสมควร
    เพียง ๗ วันต่อมา นาย ลิม โปโล ให้คำตอบประกอบการอธิบายจากแผนที่ว่า ยางพาราปลูกได้ในภาคอีสานอย่างแน่นอน เนื่องจากเส้นร่องมรสุม ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พาดผ่านเป็นแนวจากเมืองดานัง ประเทศ
    เวียตนาม ถึงประเทศไทย ที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และหนองคาย

    ตอบลบ
  11. ...........ถัดมา ๒ เดือน จึงทดลองกรีดยางพาราอายุ ๗ ปี ๔ เดือน แปลงนิคมฯโพนพิสัย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ผลสำเร็จเกินความคาดหมาย ผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับภาคใต้ คือ ไร่ละ
    ๒๐๐ กิโลกรัม ในปีแรก และ ๓๓๘ กิโลกรัม ในปีที่ ๒ จากแปลงนิคมฯบ้านกรวด
    ไร่ละ ๑๘๘ กิโลกรัม ในปีแรก และ ๒๘๐ กิโลกรัม ในปีที่ ๒ จากแปลงนิคมฯโพนพิสัยปี พ.ศ.๒๕๓๑ นาย ทวีป ทวีพาณิชย์ รองอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ขณะนั้น และนาย วิฑูรย์ ทองรมย์ ผู้อำนวยการกองนิคมสร้างตนเอง ประสานงานเชิญ นาย ณรงค์ สุจเร ผอ.สกย. และคณะเจ้าหน้าที่สกย.ไปศึกษาดูงาน และหาแนวทางให้การสงเคราะห์แก่สมาชิกนิคมฯแต่ติดขัดอยู่กับข้อจำกัดบางประการตามพระราชบัญญัติกองทุนฯ จึงไม่สามารถให้การสงเคราะห์ได้ในช่วงนั้น แม้นว่าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำ
    สวนยาง มีบทบัญญัติเพิ่มเติมตามความในมาตรา ๒๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ
    กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๓๐ ผู้มีที่ดินเป็นของตนเองและไม่มี
    สวนยางมาก่อน จึงสามารถขอรับการสงเคราะห์ปลูกยางพาราได้รายละไม่เกิน ๑๕
    ไร่ จากเงินทุนสนับสนุนในรูปงบประมาณของรัฐบาล แล้วก็ตาม
    ในห้วงเวลานั้น หน่วยราชการหลายหน่วยเริ่มโครงการปลูกยางพาราในภาค
    ตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นหลายพื้นที่ อาทิ โครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อ
    กระจายรายได้ ในความรับผิดชอบของ กรมส่งเสริมการเกษตร โครงการนำร่อง
    พัฒนาการปลูกยางพาราในภาคอีสาน ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
    แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรทางด้านเกษตรกร คุณ พูน โพธิ์งาม ถือเป็นบุคคลแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่บุกเบิกยึดการทำสวนยางพาราเป็นอาชีพแทนพืชเดิม มีการปลูกสร้างสวนยางทดแทนพื้นที่มันสำปะหลัง ในเนื้อที่ ๑๐๐ ไร่ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๒๖ โดยใช้ต้นตอ
    ตา พันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม ๖๐๐ และพีอาร์ ๒๕๕ ตามหลักวิชาการที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำ
    สวนยางแนะนำทุกประการ รวมไปถึงการปลูกพืชคลุม และพืชแซมยาง จากนั้นขยายเนื้อที่ปลูก
    เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ ๑๐๐ ไร่ รวมมีเนื้อที่สวนยางในปัจจุบัน ๘๐๐ ไร่
    ............ยางพารา : เริ่มสร้างป่า สร้างชีวิต
    กระทั่งคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ มอบหมายให้
    สกย.รับผิดชอบดำเนินการ “ โครงการให้การสงเคราะห์ปลูกยางพันธุ์ดีใน
    พื้นที่ใหม่ ”งบประมาณที่ใช้ในโครงการระยะแรกนี้ รัฐบาลให้การสนับสนุนจำนวน ๓๕๐
    ล้านบาท เพื่อใช้ในการสงเคราะห์ปีละ ๓๑,๒๕๐ ไร่ ในช่วงระยะเวลา ๕ ปี ระหว่างพ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๓๖ รวม ๑๕๖,๒๕๐ ไร่เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในข่ายได้รับการส่งเสริมแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม
    ได้แก่ กลุ่มสมาชิกสร้างนิคมตนเอง กรมประชาสงเคราะห์ กลุ่มเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน และกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรการชักชวนหาผู้เข้าร่วมโครงการมีอุปสรรคมากมาย เนื่องจากเกษตรกรเข็ด
    ขยาดเสียแล้วกับความล้มเหลวจากโครงการต่างๆของรัฐฯที่มีมาก่อนหน้านั่นเอง
    สกย.ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธใหม่ หันมาใช้ประชาสัมพันธ์นำหน้าด้วยคำ
    ขวัญ “ ปลูกยางพารา สร้างป่า สร้างชีวิต ”และระดมพนักงานหน่วยพัฒนานิเทศ ทั่วทุก
    ภูมิภาค แยกย้ายเข้าไปทำความเข้าใจกับเกษตรกรถึงหมู่บ้านอย่างเข้มข้น นานนับ
    เดือนจึงประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายโครงการฯ ด้วยเนื้อที่ รวม๑๕๖,๔๑๑ ไร่
    ตามมาด้วยโครงการ “ ขยายเวลาการสงเคราะห์ปลูกยางพาราแก่ผู้ซึ่งไม่มีสวนยาง
    มาก่อน ” เพื่อให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาสวนยางได้ต่อเนื่องจนยางพารามี
    อายุ ๗ปีครึ่ง ได้มาตรฐานเปิดกรีดได้ เกษตรกรในโครงการเป็นเกษตรกรจาก
    โครงการระยะแรก กับเกษตรกรในโครงการอื่นๆของรัฐ รวมเนื้อที่ ๒๕๖,๕๑๐ ไร่
    ในความครอบครอง ของเกษตรกร ๒๗,๕๘๖รายเมื่อโครงการแรกประสบผลสำเร็จด้วยดี รัฐบาลจึงมอบหมายโครงการต่อเนื่อง คือระยะที่๒ให้รับผิดชอบในช่วงระยะเวลา ๕ ปี ระหว่างพ.ศ.
    ๒๕๔๐ – ๒๕๔๔ ปีละ ๔หมื่นไร่ รวม๒แสนไร่ เพื่อกระจายการผลิต และเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น ก่อให้เกิดการจ้างงานในชนบท รวมไปถึงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในภูมิภาคนี้ให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ระดับหนึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีพื้นที่ป่าในสภาพสวนยางพาราพันธุ์ดีเพิ่มอีก
    ๑๗๐,๕๘๐ ไร่ ในความครอบครองของเกษตรกร ๑๖,๗๖๒ รายเมื่อโครงการนี้สิ้นสุด
    ๒๐ปียางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยผลจากโครงการที่รัฐบาลให้ความสนับสนุน ผนวกกับราคายางที่สูงขึ้นในช่วงระยะ ๒๓ปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่สวนยางในภาคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
    กระจายไปทั่ว ๑๙ จังหวัด รวมเนื้อที่ปลูกมากถึง ๒,๗๙๙,๒๐๙ไร่

    ตอบลบ
  12. จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ๖๓๗,๘๒๔ ไร่ สามารถกรีดได้๑๒๖,๓๙๘ ไร่จังหวัดที่ปลูกยางพาราน้อยที่สุด คือมหาสารคาม ที่มีพื้นที่ปลูกเพียง๓,๘๘๑ไร่ และกรีดได้เพียง ๒,๐๗๑ไร่
    แรงงานคืนกลับถิ่น........เมื่อยางพาราเริ่มหยั่งรากลงผืนดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสร้างงานก็เริ่มต้นขึ้น บรรดาแรงงานที่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เริ่มทะยอยกลับ
    สู่ถิ่นฐานเดิม โดยเฉพาะแรงงานในสวนยางพาราเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้และตะวันออก ซึ่งมีพื้นฐานอาชีพสวนยางพาราเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ด้วยเห็นว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มั่นคง มีความยั่งยืน เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี สามารถปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ร่วมไปด้วยได้หลายชนิดตลอดตั้งแต่ช่วงโครงการแรก จนถึงปัจจุบัน คาดว่า มีแรงงานกลับคืนสู่ถิ่นเดิมไม่น้อยกว่า ๒ แสนคน เห็นได้ชัดว่าในระยะเวลาช่วงนั้นแรงงานกรีดยาง ในภาคใต้เริ่มขาดแคลนมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ภาวะวิกฤตแรงงาน ต้องนำ
    แรงงานจากต่างชาติเข้ามาทดแทนนี้คือสิ่งแสดงว่าโครงการประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ แรงงานที่
    กระจัดกระจายไปยังต่างถิ่น ได้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว อย่างอบอุ่น มีความสุข สิ่งติดตามมา คือชุมชนนั้นๆมีความเข้มแข็งเสริมสร้างการอนุรักษ์ดินและน้ำความเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากปลูกพืชไร่มาเป็นสวนยางพาราสามารถเห็นผลทันทีที่เริ่มลงมือ ผืนดินถูกใช้งานลดลง เนื่องจากการสร้างสวนยางพารามีการไถพรวนเฉพาะช่วงเตรียมพื้นที่ปลูกเพียงครั้งเดียว สิ้นเปลืองการใช้แร่ธาตุในดินน้อยกว่าพืชไร่ เห็นได้จากในเนื้อที่ ๑ ไร่ ยางพาราต้องการปุ๋ยเฉลี่ยปีละ
    ๑๕ กิโลกรัม ขณะที่พืชไร่ต้องใช้ปุ๋ยถึง ๓๒– ๓๖ กิโลกรัมอีกทั้ง สวนยางพารามีระบบการบำรุงรักษาที่เสริมสร้างสภาวะแวดล้อม อาทิการปลูกบนขั้นบันไดในพื้นที่ลาดเท เพื่อชะลอความแรงของน้ำที่ไหลบ่ามาจากที่สูง ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วระหว่างแถวยาง เพื่อกักเก็บความชื้นในดินให้นาน
    ที่สุด เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน พร้อมเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินจากการตรึง
    ไนโตรเจนในอากาศของปมรากยางพาราเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก และ
    ทรงพุ่มค่อนข้างทึบ พื้นที่ที่ปลูกยางพาราจึงมีสภาพเปรียบเสมือนผืนป่า ที่โอบคลุมผืนดินบริเวณนั้นไว้ ให้
    ปลอดจากแสงแดดแผดเผา ลดแรงกระทบจากน้ำฝน ช่วยดูดซับน้ำไว้ไม่ให้ไหลบ่าชะล้างหน้าดิน และรักษาความชื้นในดินการปลูกสร้างสวนยางพารา จึงถือได้ว่าเป็นรูปแบบการเกษตรยั่งยืนรูปแบบ
    หนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมากปรับเปลี่ยนภูมิอากาศ
    จากผลงานวิจัย ของศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา เพื่อวัดอุณหภูมิและความชื้น
    สัมพัทธ์เปรียบเทียบระหว่างสภาพที่โล่งแจ้ง กับสภาพภายในสวนยาง ในช่วง
    เดือนมีนาคม และเมษายน ซึ่งเป็นช่วงแล้ง สภาพอากาศร้อน พบว่า ภายใต้ทรง
    พุ่มยาง มีอุณหภูมิต่ำกว่าสภาพโล่งแจ้ง ๑ องศาเซลเซียส และต่ำกว่าอุณหภูมิ
    ยอดหญ้า ๒ องศาเซลเซียส มีผลทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ภายในสวนยางสูงกว่า
    สภาพที่โล่งแจ้งส่วนปริมาณน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้ว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น
    โดยเฉพาะจังหวัดนครพนม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร ทั้งมีการ
    กระจายตัวของน้ำฝนดีขึ้น มีวันฝนตกเพิ่มมากขึ้นสิ่งที่สังเกตได้ คือ ปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถปลูกไม้ผลให้ผลผลิตได้ไม่แพ้ภาคอื่น โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ลุ่มน้ำโขง

    ตอบลบ