วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จำหน่ายกล้ายาง

ราคาถูกมากรีบสั่งจองด่วน มีใบรับประกันพันธ์แท้ RRIM 600 & 251 จากกรมวิชาการเกษตร

13 ความคิดเห็น:

  1. โทร สั่งจองด่วนที่ คุณณรินทร์ทิพย์ 08 - 0615 0778
    สถานที่รับกล้ายางพารา เลขที่ 516 หมู่ 20 ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
    กล้ายาง พันธุ์ RRIM 6oo และ RRIT 251

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  2. ยางพาราพันธุ์ RRIM 600 พันธุ์ 252 และ พันธุ์ อื่นที่ทางกรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ปลูก สั่งจองด่วนคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดีเปรสชันถล่มภาคใต้สวนยางพัง 8.2 แสนไร่
      นายทรงธรรม จั่นทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง (สกย.) กล่าวว่า พายุดีเปรสชั่นถล่มสวนยางพารา 14 จังหวัดภาคใต้ได้เสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 8.2 แสนไร่ ยังไม่เมินความเสียหายไม่ได้ดังนั้นขอให้ชาวสวนยางพาราอย่าเอาไม้ออกจากสวน เสียก่อน

      อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับความเสียหายสามารถแจ้งต่อพนักงาน สกย.ที่เข้าไปสำรวจสวนยางพารา หรือมาแจ้งที่สำนักงาน สกย.ได้ทุกแห่ง

      ทางด้านนายเพิก เลิศวังพงประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย (ชสยท.) เปิดเผยว่า สวนยางพาราในผ่านมา ได้รับความเสียหาย 5.8 หมื่นไร่ รัฐจะต้องออกมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 1,500 ล้าน-2 หมื่นล้านบาท

      เนื่อง จากยางพาราให้ผลประโยชน์ถึง 30-40 ปี โดยมีรายได้ประมาณ3 หมื่นบาท/ไร่/ปี เฉลี่ยแล้วได้รับความเสียหายประมาณ 1.5 ล้านบาท/ไร่ และต้องปลูกใหม่ต้องใช้เวลาอีก7 ปี จะต้องสูญเสียไปกว่า 2 แสนบาท/ไร่

      ขณะที่ นายสุชาติ สาเหล็ม กำนันตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมดจ.พัทลุง กล่าวว่า สวนยางพาราในหลายพื้นที่ของ อ.ปากพะยูน บางแก้ว เขาชัยสน ควนขนุน ป่าบอนและตะโหมด ยังประเมินค่ามิได้เพราะยางพาราจะให้ผลประโยชน์ถึง 35-40 ปี/ไร่

      นอกจาก นี้ ในการปลูกยางพาราใหม่ต้องใช้เวลาประมาณ 7-10 ปีกว่าจะได้รับผลประโยชน์ สวนยางพาราที่เสียหายในครั้งนี้ บางสวนเพิ่งกรีดได้ไม่ถึงปี ยังจะได้รับผลประโยชน์กว่า 30 ปี

      ลบ
    2. ยางพาราพันธุ์ใหม่ จากยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251) หรือรู้จักกันในชื่อพันธ์บ้านเรียบ (อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา) ให้น้ำยางมาก :แต่หากใช้ระบบกรีดที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ระบบกรีดถี่ เช่นพันธุ์ RRIM 600 ก็จะส่งผลให้มีอาการเปลือกแห้ง
      ในปัจจุบันนี้ อาการเปลือกแห้งหรือหน้าแห้งของต้นยางพารา(กรีดยางแล้วไม่มีน้ำยางไหลออกมา-Tapping panel dryness) กำลังจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราเกือบทุกคนต้องประสบและยอมรับสภาพชนิดไม่อาจปฏิเสธได้ แต่มองอีกแง่หนึ่งอาจไม่ธรรมดาและน่ากังวลจนคนคิดก็พลอยจะหน้าแห้งตามต้นยางไปด้วยก็คือว่า อาการเปลือกแห้ง มีแนวโน้มาแรงมาก ๆ เมื่อหวนคิดเปรียบเทียบกับการกรีดยางในอดีต อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริง?......หากเป็นโรคอื่น ๆ เช่น โรคราแป้งหรือโรคใบร่วงครั้งที่สอง นักวิชาการสามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดจากเชื้อรา เพราะพบเชื้อราสาเหตุของโรคจริง ๆ แต่อาการเปลือกแห้งในขณะนี้ นักโรคพืชทั่วโลกยังไม่พบว่าเกิดจากเชื้อใด และเชื่อมั่นว่าไม่ได้เกิดจากเชื้อใด จากการทดลองของสถาบันวิจัยยางพบว่า การใช้ระบบกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน(S/2 D/2) สวนยางมีจำนวนต้นยางที่มีอาการเปลือกแห้งไม่ถึงร้อยละ 2 แต่ถ้าใช้ระบบกรีดทุกวัน การกรีดหนึ่งในสามและกรีดครึ่งต้น จะทำให้มีจำนวนต้นยางที่มีอาการเปลือกแห้งสูงขึ้นจนน่าตกใจ (ร้อยละ 8 และ 26 ตามลำดับ) แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่น่าสรุปได้ระดับหนึ่งว่า "การเร่งรัดให้น้ำยางออกมากเกินไป" เป็นสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งมากขึ้นอย่างแน่นอนที่สุด
      ...........การเร่งรัดให้น้ำยางออกมากเกินไปในที่นี้หมายถึง การกรีดยางที่ใชระบบการกรีดถี่(เช่น 4-5 วันเว้นวัน), การเปิดกรีดในขณะที่ต้นยางพารายังเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกกรีด, การกรีดในขณะที่ต้นยางกำลังผลิและสร้างใบใหม่หลังการผลัดใบในหน้าแล้ง, การใช้สารหรือแก๊สเร่งน้ำยางโดยไม่ถูกวิธี หรือในกรณีของยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251) หรือพันธุ์บ้านเลียบจาก อ.นาทวี จ.สงขลา ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางมาก แต่หากใช้ระบบกรีดที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ระบบกรีดถี่เช่นพันธุ์ RRIM 600 ก็จะส่งผลให้มีอาการเปลือกแห้งอย่างแน่นอนภายในระยะเวลาไม่เกิน 1-2 ปีแล้วเกษตรกรชาวสวนยางพาราทราบหรือไม่ว่า การกรีดถี่จะส่งผลให้มีจำนวนต้นที่แสดงอาการเปลือกแห้งมากขึ้น ๆ คำตอบคืออาจทราบบ้าง แต่มีหลายอย่างที่ทำให้คำตอบอยู่ในภาวะคลุมเครือนักเกษตรคงจะเกือบทุกคนที่เคยเห็นชาวบ้านนำมีดพร้าหรือขวานไปสับ ๆ เปลือกบริเวณลำต้นของมะขามหรือมะม่วงเพื่อเร่งให้ออกดอกและมีผลเพราะเห็นว่ามีอายุและความสมบูรณ์พอที่จะให้ผลผลิตได้แล้ว เราไม่รู้ว่าหลังจากทำแบบนั้นแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านชีวะเคมีภายในต้นไม้ที่เราไปสับอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่บอกเล่าถ่ายทอดกันมา ก็คือว่า คล้าย ๆ กับต้นไม้นั้จะมีสัญชาติญาณรับรู้ว่า ตัวเองกำลังจะต้องตายและต้องสูญพันธุ์ จึงเกิดการผลิดอก ติดผลขึ้นมาสำหรับต้นยางพารา อาจไม่ใช่ แต่ใก้ลเคียงหรือมีผลไปตามธรรมชาติตามแบบฉบับเฉพาะของยางพาราเท่านั้น ต้นยางพาราเป็นสิ่งมีชีวิต มีสัญชาติญาณในการพยายามอยู่รอดหรือไม่เมื่อโดนทำร้าย หากวิเคราะห์ว่า "มี" ก็ไม่น่าจะผิด ในเมื่อการกรีดยางแต่ละครั้งถือเป็นการทำร้ายต้นยางที่รุนแรงพอควร เมื่อการทำร้ายรุนแรงหรือมีมากขึ้น ๆ จากการเร่งรัดให้น้ำยางออกมาก ๆ โดยไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกวิธี ก่อนที่ต้นยางจะตายหรือเข้าขั้นวิกฤติ จึงน่าจะมีกลไกบางอย่างที่จะมาหยุดยั้งการใหลของน้ำยาง ซึ่งเมื่อมีการศึกษาลึกลงไปในระดับเซลด้วยกล้องจุลทรรศ์ ก็พบเซลอุดตันภายในท่อน้ำยาง เมื่อไม่มีการสร้างน้ำยาง สารอาหารที่ใบยางสร้างขึ้นก็จะถูกนำไปใช้บำรุงเปลือก(ลำต้น)มากขึ้น ส่งผลให้เกิดเปลือกงอกใหม่เจริญและดันเปลือกเดิมออกมา ซึ่งเราจะมองเห็นเป็นเปลือกแตกและล่อนออกมาเป็นแผ่น(พบกับต้นยางพาราที่พักการกรีดนานแล้ว) แม้เปลือกงอกใหม่จะมีน้ำยางบ้างแต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

      ลบ
  3. ........ (อ่านต่อ) เมื่อนึกย้อนไปในสมัยที่ราคายางตกต่ำมาก ๆ ในปี 2544-2545 ราคายางแผ่นดิบในขณะนั้น 22-29 บาทต่อกิโลกรัม ชาวสวนยางพาราจะโอดครวญว่าแต่ละวันมีรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงต้องกรีดยางติดต่อกันหลาย ๆ วัน (4-5 วัน) ก็เป็นเหตุผลที่น่าเห็นใจ จนเราพูดอะไรไม่ออกเหมือนกัน แต่ครั้นราคายางพาราสูงขึ้น ๆ ดังเช่นในทุกวันนี้ ราคายางอยู่ในช่วง 92-102 บาทต่อกิโลกรัม ก็พบว่าชาวสวนยางพารายังคงกรีดยางติดต่อกันหลาย ๆ วันเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า ช่วงราคายางดี ๆ ราคาสูง ๆ ก็ต้องรีบฉวยโอกาสบ้าง และดูท่าว่าจะกรีดหนักมากกว่าช่วงราคายางตกต่ำ ประกอบกับสมัยนี้ น้ำมันก็แพง ปุ๋ยบำรงต้นยยางก็แพง(สุด ๆ) ข้าวสาร ข้าวของทุกอย่างก็แพง รายจ่ายมีมากมาย ส่งลูกเรียนบ้าง ผ่อนรถบ้าง ซื้อหวยบ้าง ทั้งบนดิน ใต้ดิน รวมถึงหวยรูปสัตว์ วัน ๆ ก็หลายเหมือนกัน ดูแล้วผู้ที่จะต้องรับภาระเหล่านี้ หนีไม่พ้น "ต้นยาง" ที่แทบไม่มีวันได้พักผ่อนเลย นอกจากฟ้าจะช่วยให้ฝนตกจนหน้ายางเปียก........
    ..........ที่ร้ายไปกว่านั้น ก็คือว่าเมื่อต้นยางผลัดใบในหน้าแล้ง แล้วผลิใบใหม่-สร้างใบให้สมบูรณ์ ช่วงนี้ควรหยุดพักการกรีด แต่ก็ยังมีชาวสวนยางบางคนยังคงกรีดต่อไปโดยเว้นระยะห่างออกมาบ้าง บางคนรู้ว่าควรหยุด แต่เมื่อเห็นหลาย ๆ ครอบครัวในหมู่บ้านกรีดกัน ก็เลยต้องกรีดตามบ้าง เพราะหากไม่กรีดก็จะรู้สึกขาดความมั่นใจที่ไม่เหมือนเพื่อน รู้สึกเป็นปมด้อยที่ไม่ได้ทำงานในช่วงนี้เมื่อยางพาราราคาถูก ก็คงมีชาวสวนยางไม่น้อย ที่ไม่ได้ซื้อปู๋ยบำรุงต้นยางเลยหรือใส่ได้เล็กน้อย เพราะไม่ค่อยมีเงิน ปัจจุบัน ยางราคาแพง แต่สินค้าอย่างอื่น ก็แพงตามสุด ๆ เช่นกัน รวมทั้งปุ๋ยด้วย ต้องยอมรับว่าปุ๋ยแพงมาก ๆ (เดี๋ยวนี้ ปุ๋ยเต็มสูตร ราคาไม่ต่ำกว่า 31 บาทต่อกิโลกรัม หรือกระสอบละ 1550 บาท) ปัญหาการซื้อปุ๋ยเพื่อจะบำรุงต้นยางบ้าง ก็เจอปัญหาใหญ่ อีกครั้งดูแล้ว ต้นยางพาราจะต้องรับกรรมอีกต่อไป..ตราบถึงวันโค่นเพื่อปลูกรอบใหม่ซึ่งก็คงยากที่จะหลีกหนีวัฐจักรเดิม ๆ พ้น ทางหนึ่งที่พอจะช่วยพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้ ก็น่าจะเป็น การเข้าใจและดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา นั่นเอง "การมีชีวิตอยู่แบบพอเพียง" และ ใช้มีดกรีดยางอย่างพอควร จึงน่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอาการเปลือกแห้งของต้นยางพารา ได้ดีที่สุด..

    ตอบลบ
  4. เมื่อคิดจะปลูกยางพารา....
    ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรทั่วประเทศไทยให้ความสนใจต้องการปลูกเป็นอย่างมาก และรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมการปลูกยางพาราในทุกภาคของประเทศ นับตั้งแต่ ภาคใต้, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ และภาคกลาง ด้วยเช่นกัน นับเป็นพืชที่มีอนาคตสดใส เนื่องจากทั่วโลกยังมีความจำเป็นในการใช้ยางพาราอยู่เป็นจำนวนมาก ทุกวันนี้ อัตราการขยายตัวของปริมาณการผลิตและการใช้ยางพาราหรือยางธรรมชาติ เฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ยางธรรมชาติของโลก ในอีก 7 ปีข้างหน้าหรือในปี 2558 จะสูงถึง 10.6 ล้านตัน กอปรกับในอนาคต "วิกฤติพลังงานโลก" เป็นเรื่องที่ต้องตระหนัก ซึ่งก็ต้องเกียวพันกับราคาน้ำมันที่อาจสูงขึ้น ๆ ความต้องยางสังเคราะห์ที่ทำมาจากน้ำมันจึงมีแนวโน้มลดน้อยลง ดังนั้น ราคาและความต้องการยางพาราจึงน่าจะอยู่ในระดับสูงพอสมควร......
    ข้อคิดก่อนปลูกยางพารา.........
    ข้อควรพิจารณาก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนซื้อที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพาราด้วยเงินก้อนโตที่เพียรพยายามสะสมมา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคายางพารามีมากมาย แต่ปัจจัยหลักคืออะไร การจะทำสวนยางให้ได้รับผลผลิตมากและคุ้มค่า ปัจจัยแรกที่สำคัญมาก ๆ คือ ความเหมาะสมของพื้นที่ ไม่ว่าเราจะโชคดีพบพื้นที่ปลูกยางในฝัน หรือจำต้องปลูกบนพื้นที่ที่ไม่มีทางเลือก เราควรมีข้อมูลหรือหลักการในการเลือกพืนที่ในการปลูกสร้างสวนยางพารา เนื่องเพราะพื้นที่ที่เหมาะสมคือการลดต้นทุนที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติให้มา!
    แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในเขตที่มีภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมมาก ๆ ในการปลูกสร้างสวนยางพารา โดยเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันออกซึ่งเป็นเขตปลูกยางพาราเดิม แต่ก็มิได้หมายความว่าที่ดินทุกแปลงจะมีความเหมาะสมอยู่ในระดับที่สามารถทำสวนยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือให้ผลผลิตสูง(ต้นทุนต่ำ) โดยทั่วไป พบว่า ปริมาณผลผลิตจากสวนยางพาราจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ ๆ อาทิ ความเหมาะสมของพื้นที่, พันธุ์ยางพารา และการจัดการสวนยางพารา ในที่นี้จะขอกล่าวถึงลักษณะของพื้นที่อันได้แก่ ดิน และสภาพภูมิอากาศ ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา ดังนี้
    เป็นพื้นที่ที่ไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกินกว่า 600 เมตร
    สภาพพื้นที่ควรระบายน้ำได้ดี หากมีความลาดชันก็จะเป็นการดี แต่ไม่ควรเกิน 35 องศา และต้องทำชานหรือขั้นบันได หากมีความลาดชันมากกว่า 15 องศาหน้าดินควรลึกมากว่า 1 เมตร ไม่ควรมีชั้นดินดานหรือชั้นหิน
    เนื้อดิน ควรเป็นดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนทราย สีของเนื้อดินควรสม่ำเสมอหรือเป็นสีเดียวตลอดหน้าตัดของดินเนื้อดินมีระดับความเป็นกรด-ด่าง หรือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.5-5.5เป็นที่ที่มีปริมาณฝนไม่น้อยกว่า 1250 มิลลิเมตร/ปี และมีจำนวนวันฝนตกประมาณ 120-150 วัน/ปี

    ตอบลบ
  5. การจำแนกพันธุ์ยางพารา......
    การจำแนกพันธุ์ยางพารามี 2 วิธี คือ การจำแนกพันธุ์ยางพาราโดยสายตา โดยมองจากลักษณะภายนอกที่ยางพาราแต่ละพันธุ์แสดงออกมาให้เห็น และการจำแนกพันธุ์ยางพาราทางวิทยาศาสตร์ โดยการศึกษาและจัดทำลายพิมพ์ DNA แม้จะเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง แต่มีขั้นตอนการปฎิบัติที่ยุ่งยาก ต้องใช้เวลา เสียค่าใช้จ่ายมาก จึงนิยมใช้วิธีการจำแนกพันธุ์ยางพาราด้วยสายตามากกว่า เพราะเป็นวีธีที่ตรวจสอบได้ง่าย และตรวจสอบได้จำนวนมาก สะดวกรวดเร็ว สามารถบอกชนิดของพันธุ์ยางได้ทันที การเป็นนักจำแนกพันธุ์ยางที่ประสบผลสำเร็จได้นั้น จึงต้องอาศัยการสังเกต หมั่นฝึกฝนเพิ่มความชำนาญ และที่สำคัญต้องมีหัวศิลป์ด้วย สำหรับวิธีจำแนกพันธุ์ยางพาราโดยสายตา นายศุภมิตร ลิมปิชัย นักวิชาการเกษตร 8 ว ศูนย์วิจัยยางสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา กรมวิชาการเกษตร ผู้มีความรู้ความสามารถ ควมชำนาญและมีประสบการณ์ในการจำแนกพันธุ์ยางมาหลายสิบปี เป็นวิทยากรมาหลายต่อหลายรุ่นได้กล่าวถึงเคล็ดลับในการจำแนกพันธุ์ยางโดยให้มองภาพรวม ๆ ที่เป็นลักษณะภายนอกของต้นยางพาราที่เห็นได้ชัดเจน จนถึงส่วนปลีกย่อยมาประกอบ การตัดสินใจว่าเป็นยางพันธุ์ใด เริ่มด้วยการดูรูปทรงของฉัตร ต่อมาให้ดูลักษณะใบ, กิ่งก้าน เปลือก, สีของน้ำยาง รวมทั้งลักษณะประจำพันธุ์ ควรดูว่ามีอะไรที่แปลกเป็นพิเศษ ทั้งหมดถือเป็นเทคนิค อย่างหนึ่งช่วยทำให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น.........
    การดูรูปทรงของฉัตร
    รูปทรงของฉัตร ให้พิจารณาฉัตรแก่ที่ 1-2 นับจากยอดว่ามีรูปทรงเป็นอย่างไร ที่พบเห็นมีอยู่ 4 ลักษณะ ได้แก่ รูปครึ่งวงกลม, รูปร่ม, รูปกรวย และรูปสามเหลี่ยมหรือรูปพีระมิด ซึ่งอาจมีทรงและขนาดแตกต่างกัน จำนวนใบในฉัตรมีมากหรือน้อยจนมองเห็นได้ชัดว่าโปร่ง หรืออัดแน่น หรือเป็นแบบฉัตรเปิดที่มองทะลุผ่านได้ หรือแบบฉัตรปิดที่ใบบนตกลงมาปิดใบล่างไม่สามารถมองทะลุผ่านฉัตรได้
    การดูลักษณะของใบ
    ...ใบยางพาราประกอบด้วย ใบย่อย 3 ใบ ให้พิจารณาดูใบกลางของยางพาราแต่ละพันธุ์ ซึ่งอาจมีรูปร่างแตกต่างกันไป ยางพาราบางพันธุ์มีใบป้อมกลางใบ เช่น พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 และ พันธุ์ RRIM 600 ใบจะป้อมปลายใบ ส่วนยางพันธุ์ BPM 24 และ PB235 ใบจะป้อมกลางใบ จากนั้นให้พิจารณาดูว่า ฐานใบเป็นรูปลิ่ม หรือสอบเรียว มีปลายใบเรียวแหลม หรือติ่งแหลม มีขอบใบเรียบหรือเป็นรูปคลื่น มีแผ่นใบเรียบหรือขรุขระ ใบตัดตามขวางเป็นรูปตรง หรือเว้าเป็นท้องเรือ และตำแหน่งของขอบใบย่อยทั้ง 3 ใบ อยู่ในลักษณะแยกจากกัน, สัมผัสกัน หรือซ้อนทับกัน ก้านใบ ทำมุมกับลำต้นแบบไหน ตั้งฉาก, ทำมุมยกขึ้น หรือทำมุมทิ้งลง และรูปร่างของฐานก้านใบกลม, แบนราบ หรือฐานมีร่องจากลักษณะสำคัญ ๆ ที่เห็นเพียงภายนอก ยังไม่รวมไปถึงลักษณะปลีกย่อย ก็พอบอกชนิดของพันธุ์ยางได้ แต่ถ้าจะให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น ผู้จะเป็นนักจำแนกพันธุ์ยางที่ดีควรจะทราบลักษณะประจำพันธุ์ยางไว้เป็นแนวทางเพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกพันธุ์ยาง ขอยกตัวอย่างพันธุ์ยางที่ผลิตเพื่อการค้า 4 พันธุ์ ดังนี้......
    ....พันธุ์สถาบันวิจัยยาง RRIT251 (พันธุ์บ้านเรียบ) มีลักษณะะใบ เป็นครึ่งวงกลม ฉัตรเปิด ระยะระหว่างฉัตรห่าง ใบสีเขียวเป็นมัน ป้อมปลายใบ ใบตัดตามขวางเว้าเป็นรูปท้องเรือ ขอบใบหยักเป็นลอน ก้านใบยาวทำมุมตั้งฉากกับกิ่งกระโดง ฐานก้านใบชั้นเดียว ลักษณะพิเศษคือกิ่งกระโดงคดและขอบใบเป็นลอนคลื่น
    .....พันธุ์ RRIM 600
    รูปทรงฉัตรเป็นรูปกรวยขนาดเล็ก ฉัตรเปิด ใบสีเขียวอมเหลือง แผ่นใบเรียบ นิ่มลื่น ผิวใบมัน ขอบใบเรียบ ป้อมปลายใบ ปลายใบมีติ่งแหลมคล้ายใบโพธิ์ ก้านใบทำมุมยกขึ้น และใบทั้ง 3 ใบ อยู่ในแนวเดียวกัน ลักษณะพิเศษคือ ฐานก้านใบเป็นร่อง ตาอยู่ในฐานก้านใบ ฐานใบสอบเรียว
    ลักษณะประจำพันธุ์ยางและการจำแนกพันธุ์ยางพาราบวกกับเทคนิคเฉพาะตัวที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความชำนาญ ก็จะสามารถจำแนกพันธุ์ยางพาราได้อย่างถูกต้องแม่นยำไม่เฉพาะแต่ในแปลงปลูกเท่านั้น แม้แต่ในแปลงผลิตต้นยางชำถุงก็สามารถจำแนกได้เช่นกัน
    ............แหล่งข้อมูล: พรรณพิชญา สุเสวี สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

    ตอบลบ
  6. เมื่อเริ่มปลูกยางพารา...........
    การจัดการสวนยางพาราก่อนให้ผลผลิต หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1 ปีแรกหลังจากปลูก ซึ่งสิ่งที่ต้องดูแลเป็นอันดับแรกก็คือการจัดการทุกอย่างเพื่อให้ต้นยางพาราอยู่รอด หรือให้ตายน้อยที่สุด และควรรีบทำการปลูกซ่อมทันทีที่ทำได้, กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ย, หากไม่ปลูกพืชคลุมก็ควรทำการปลูกพืชแซมยาง, ดูแลและตัดแต่งกิ่งต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้ง และเพื่อรักษาความชื้นในดินเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ก็ควรคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 1 ปีเต็ม ต้นที่สมบูรณ์ก็จะมีขนาดความสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
    หลังจากปลูกแล้ว หากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงนาน ก็ควรให้น้ำบ้างเท่าที่สามารถจะให้ได้
    เมือฝนมาครั้งแรก ต้องสำรวจดูว่า ดินในหลุมใดยุบบ้าง ให้กลบดินเพิ่ม หากไม่กลบเมื่อฝนมาครั้งที่สอง ก็จะทำให้น้ำขังบริเวณโคนต้นซึ่งจะทำให้ต้นยางพาราตายได้
    หลังจากฝนครั้งแรกมาแล้ว ทิ้งช่วงนาน ฝนครั้งที่สองก็ยังไม่มาไม่มา ชาวสวนยางพาราก็ต้องมาสำรวจดูว่ามีหลุมใดบ้างที่ดินรอบ ๆ ต้นยางแตกหรือแยกเป็นวง ๆ ก็ให้กลบดินเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความชื้นระเหยออกจากหลุม ซึ่งก็อาจทำให้ต้นยางพาราเฉาหรือตายได้เช่นกัน
    คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางมีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
    ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
    หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดี
    หากต้องการปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
    กรณีปลูกด้วยยางชำถุง เมื่อต้นยางอายุครบ 1, 4 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรอื่น เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7
    สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ซึ่งปลูกยางชำถุงอย่างเดียว เมื่อต้นยางอายุครบ 1 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถากแล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-10-12 ตามอัตรา โดยไม่แยกชนิดของดิน และในปีแรกนี้ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี (อาจใส่เมื่อต้นยางอายุครบ 6 เดือน)
    วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดินกลบ หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี หรืออาจใช้เหล็กหุนแทงลงไปในดินให้ลึกพอเหมาะ จำนวน 4 หลุม หยอดปุ๋ยลงไปแล้วกลบก็ได้เช่นกัน
    .........ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
    เมื่อต้นยางพาราอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรทำการตัดแต่งกิ่ง เมื่อมีการแตกกิ่งด้านข้างลำต้น ให้ใช้มีดหรือคัดเตอร์ค่อย ๆ ตัดออก ระวังอย่าให้โดนก้านใบ
    เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ

    ตอบลบ
  7. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางพาราระยะก่อนให้ผลผลิต
    เมื่อคุณภาพดินใก้ลมาถึงทางตัน หรือมีการใช้แต่เฉพาะปุ๋ยเคมีซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนดินสูญเสียคุณสมบัติทางชีวะ, เคมี และฟิสิกส์ สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำสำหรับเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นชาวสวนยางพาราหรือเกษตกรผู้ปลูกพืชอื่น คือการหันกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใช้ธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ นั่นเอง ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ เช่นดินในเขตปลูกยางพาราใหม่อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยยางได้แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน, ช่วยให้ดินอุ้มความชื้นได้มากขึ้น, ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะมีผลให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตเร็วขึ้น กว่าไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
    ........เริ่มจากในขั้นตอนการขุดหลุม-กลบดินลงหลุม นอกจากจะคลุกเคล้าปุ๋ยหินฟอสเฟต 170 กรัม/หลุม กับดินชั้นล่างแล้ว ชาวสวนยางพาราควรผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตร 5 กิโลกรัม/หลุม ลงไปด้วย หลังจากปลูกยางพาราแล้ว ก็ควรหาช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ปีละ 1 ครั้ง โดยในปีแรกเมื่อต้นยางพาราอายุได้ 6 เดือน ก็ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น และเมื่อต้นยางพารามีอายุย่างเข้าปีที่ 2,3,4,5 และปีที่ 6 ควรใส่ปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี (สามารถใส่ได้มากกว่านี้แต่ควรคำนึงถึงต้นทุนด้วย)
    .........หลักการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ควรใส่ให้ปุ๋ยสัมผัสกับดิน(กระจาย)มากที่สุดเพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพมีโอกาสได้ปรับปรุงดินอย่างทั่วถึง หลังจากใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้ว 15-20 วัน เมื่อดินเริ่มร่วนซุย จึงตามด้วยปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำ หากทำได้ตามขั้นตอนที่กล่าว(อาจเหนื่อยและใช้เวลาหน่อยน่ะ)ก็จะได้ผลต่อดิน และต่อคนอย่างคุ้มค่าสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคใต้ แม้ว่าจะโชคดีที่พื้นที่ปลูกยางพาราเป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุมากกว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็ยังมีพื้นที่บางส่วน บางแปลงที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย หรือที่ดินบางแปลงที่กำลังปลูกยางพาราเป็นที่ดินที่ปลูกยางเป็นรอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 แล้ว ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ก็จะช่วยให้ดินดีขึ้น ส่งผลต่อต้นยางพาราทำให้เจริญเติบโตดีกว่า การใช้แต่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว อย่างแน่นอนเพื่อเป็นการลดต้นทุนและให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอินทรีย์วัตถุจริง ชาวสวนยางพาราควรผลิตปุ๋ยอินทรีย์(ชีวภาพ)เพื่อใช้เอง

    ตอบลบ
  8. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์(ชีวภาพ)
    1.นำเศษผักที่เหลือจากการขายหรือเศษผักที่เก็บมาจากสวนผักที่เขาคัดออกมาจากบ้าน(หาที่ไหนมาก็ได้)
    2.นำผักมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการย่อยสลายได้ง่าย
    3.นำเศษผักมาผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล ในอัตราส่วนผสม เศษผัก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
    4.นำไปหมักไว้ในถังหมักเป็นเวลา 3 เดือน จึงสามารถนำน้ำชีวภาพไปใช้ได้

    ปุ๋ยอินทรีย์(ชีวภาพ)คืออะไร?...... (ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร) ปุ๋ยเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ ในการผลิตพืช เนื่องจากปุ๋ยเป็นอาหารของพืช สามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้น เกษตรกรควรศึกษา ข้อดี และข้อเสีย ของปุ๋ยแต่ละประเภท ก่อนเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของพืช ความชื้นในดิน คุณสมบัติของดิน และวิธีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน จะเป็นแนวทางที่สามารถช่วยให้เกษตรกรได้รับทั้งผลตอบแทนที่สูงสุด เสริมสร้างระบบการผลิตพืชแบบยั่งยืนและความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อม
    คำนิยามปุ๋ย ความหมายโดยทั่วไป ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่เราใส่ลงไปในดิน โดยมีความประสงค์ที่จะให้ธาตุอาหาร เพิ่มเติมแก่พืช ให้มีปริมาณที่เพียงพอ และสมดุลตามที่พืชต้องการใน พรบ.ปุ๋ย ปี 2518 ได้ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า หมายถึง สารอินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
    ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ และหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิบซั่ม
    ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธี ทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อนหรือวิธีการอื่น ๆ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
    ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช หรืออาจเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์
    ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีในพืชตระกูลถั่ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใส่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตพืช ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ราคาถูก
    E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร ?
    E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ
    จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

    ตอบลบ
  9. ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
    เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
    ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์(ชีวภาพ)โดยทั่วไป
    ด้านการเกษตร
    - ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
    - ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
    - ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
    - ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
    - ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
    - ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
    - ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
    - ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
    - ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
    - ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
    - ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ

    ตอบลบ
  10. ........การปลูกยางพารา หรือการสร้างสวนยางพารา อาจไม่ใช่เรื่องยากในสายตาของผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการปลูกสร้างสวนยางพารามาแล้วเช่นชาวสวนยางพาราในภาคใต้หรือภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นเขตปลูกยางพาราเดิมของประเทศไทย แต่ในขณะนี้ เป็นภาวะที่ราคายางพาราอยู่ในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง(ณ วันที่ 21 มีนาคม 2551ราคาน้ำยางแผ่นดิบและน้ำยางสดอยู่ที่ 77.00 และ 80.39 บาทต่อกิโลกรัม ) และภาครัฐได้ส่งเสริมการปลูกยางพาราไปทุกภาคของประเทศ จึงทำให้มีเถ้าแก่สวนยางพารามือใหม่, เกษตรกรชาวสวนยางพารามือใหม่ หรือผู้อยากลงทุนปลูกสร้างสวนยางพารากันมากยิ่งขึ้น แม้การปลูกยางพาราจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราจะปฏิบัติต่อสวนยางพารา หรือจัดการสวนยางพารา อย่างไรเพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่สุด
    โลกและราคายางพาราคงมิได้หยุดนิ่ง ต้องยอมรับว่า สิ่งใหม่ ๆ ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน ควบคู่ไปกับปัญหาใหม่ที่คอยติดตามและทดสอบภูมิปัญญาของผู้คนทุกกลุ่มอาชีพ การมีความรู้, การสร้างสังคมแห่งความรู้, การเชื่อมต่อถึงกันบนพื้นฐานของการมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันของผู้คนที่มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับยางพารา จึงเป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์

    ตอบลบ